หลายคนที่กำลังเริ่มต้นมักจะมีคำถามต่างๆ บ้างก็อยากพัฒนาความสามารถในการดำน้ำ บ้างก็กำลังตัดสินใจว่าจะเรียนฟรีไดฟ์ดีไหม วันนี้เราได้รวบรวม 10 คำถามยอดนิยมสำหรับผู้เริ่มต้นฟรีไดฟ์
จะเพิ่มเวลาการกลั้นนหายใจได้อย่างไร?
ในคอร์สจะสอนเทคนิคการหายใจเตรียมตัวก่อนดำน้ำที่ถูกต้อง การรีแล็กซ์ผ่อนคลายร่างกาย และวิธีการหายใจหลังจากการดำเสร็จ เพื่อให้เราสามารถดำน้ำได้อย่างปลอดภัย
คอร์สเริ่มต้านของสถาบัน SSI อย่างเช่นคอร์ส เบสิคฟรีไดฟ์ (Basic Freediver Course) หรือ คอร์สฟรีไดฟเวอร์ (Freediver (Level 1) Course) ไม่มีการกำหนดการกลั้นหายใจขั้นต่ำว่าต้องได้กี่นาทีถึงจะผ่าน เนื่องจากหลายๆครั้งที่การตั้งเป้าหมายก่อให้เกิดความเครียดในการฝึกทำสิ่งใหม่ แทบทุกคนสามารถกลั้นหายใจได้ระหว่าง 1:30 ถึง 2:30 นาที แต่สิ่งที่มักจะทำให้เราทำไม่ได้ก็คือความคิด ความกังวล ที่มากดดันจะเราทำไม่ได้ ทั้งๆที่พอเราลืมมันไป หรือไม่ได้ตั้งใจจะทำมันมากนักเรากลับทำได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลถึงเรื่องนี้ตอนฝึกฝนและเรียนสิ่งใหม่ที่ไม่เคยทำ
จะดำฟรีไดฟ์ต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง?
อย่างน้อยคุณจะต้องมี
หน้ากากดำน้ำ
ฟินดำน้ำ(ตีนกบ)
ท่อสน็อคเกิ้ล
อุปกรณ์อื่นๆที่จะต้องใช้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสถานที่ที่เราจะไปดำเช่น
ชุดเวทสูท หรือ เรชการ์ด เพื่อป้องกันเราจากสภาพแวดล้อมที่จะทำอันตรายเราได้เช่น คสามหนาวเย็น แมงกะพรุน หรือแสงแดดที่แสนจะรุนแรงของบ้านเมืองนี้
เข็มขัดและตะกั่ว เพราะตัวเราหรืออุปกรณ์ของเราอาจจะทำให้เราลอยเกินไปยิ่งในน้ำทะเล ตะกั่วจะช่วยให้เราดำน้ำลงไปได้โดนไม่ต้องออกแรงเยอะ
ทุ่นดำน้ำ ธงดำน้ำ และเชือกดำน้ำ ในกรณีที่เราไปดำน้ำในพื้นที่เปิด ทุ่นจะทำให้เรือมองเห็นเราง่ายขึ่น เรืออาจจะมองไม่เห็นเราเลยหากมีเพียงแค่หัวดำๆของเราพ้นน้ำขึ้นมา ยิ่งไปกว่านั้นถ้าเราดำลงไปใต้น้ำ เรือที่แล่นมาจะไม่รู้เลยว่าเราอยู่ที่ไหนและจะขึ้นมาตรงไหน นอกจากนั้นทุ่นยังเป็นที่ๆให้เราได้เกาะพักเหนื่อย เก็บของต่างๆ และใช้ร่วมกับเชือกในการดำน้ำเทรนนิ่ง
ไดฟ์คอม เอาไว้บอกข้อมูลและบันทึกรายละเอียดต่างๆของการดำน้ำของเรา เราจะได้ไม่ต้องมานั่งระลึกชาติว่าเดือนที่แล้วไปดำได้กี่เมตร อยู่กี่นาที
ฟรีไดฟ์ปลอดภับรึปล่าว?
กิจกรรมฟรีไดฟ์นั้นมีความเสี่ยงน้อยกว่าสกูบ้า(ดำถัง) สิ่งที่เกิดขึ้นได้คือ LMC หรือการชักกระตุก และ แบล็คเอาท์(Blackout) หรือการหมดสติ ซึ่งถ้าทำอย่างถูกต้องการจะเกิดสองสิ่งนี้ก็น้อยมากๆ หลายๆคนอาจจะทดลองทำด้วยตัวเอง หลายๆคนก็รู้สึกว่าทำได้ซึ่งบางคนถึงกับออกมาบอกว่าไม่ต้องเรียนก็ได้ แต่เราไม่เคยรู้เลยว่าสิ่งที่เราทำนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ห้ามทำ ซึ่งหลายๆคนก็ยังโชคดีที่ไม่เกิดเหตุร้ายขึ้นกับตัวเอง แต่เราก็ไม่ควรขี้เหนียวกับความปลอดภัยและชีวิตเรา การเรียนจะทำให้เรารู้วิธีที่ถูกต้องและเข้าใจเหตุผลที่เราทำมัน
จะเคลียร์หูยังไงใต้น้ำไม่ให้เจ็บ?
เทคนิคที่ใช้ในการเคลียร์หูส่วนใหญ่คือ วาลซาลว่า(Valsalva) และเฟรนเซล(Frenzel)ซึ่งเป็นวิธีที่แนะนำ สำหรับบางคนก็เป็นเรื่องง่ายมาก แต่สำหรับบางคนอาจต้องใช้เวลานานในการฝึกฝน เพราะเรากำลังพยามควบคุมกล้ามเนื้อที่เรามองไม่เห็นจึงไม่รู้ว่ามันขยับยังไง ได้เพียงแค่ใช้ความรู้สึก
อะไรคือเทคนิคในการดำน้ำที่ดีที่สุด?
การดำน้ำฟรีไดฟ์เราต้องกลั้นหายใจ เราจึงจำเป็นต้องประหยัดพลังงานและแรงที่เราใช้ให้มากที่สุด การดำฟรีไดฟ์ใช้คติที่ว่า "ออกแรงน้อย แต่ได้ผลมาก" แปลว่าใช้พลังงานน้อยที่สุดแต่เดินทางได้ไกลที่สุด
ทำยังไงให้เราดำน้ำได้ลึกกว่าขึ้น?
การเคลียร์หูเป็นปัจจัยหลักในการที่เราจะสามารถดำลงไปได้ลึกขึ้น การฝึกฝนการเคลียร์หูอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เทคนิคการเคลียร์หูเราดีขึ้นและเคลียร์ได้ง่ายขึ้น การยืดเหยียดก็จำเป็นต่อการพัฒนาให้เราสามารถรับกับแรงดันน้ำที่เพิ่มขึ้นกับปอดของเราที่หดลงกว่าปกติ
มีคอร์สเรียนฟรีไดฟ์หรือบัตร/ใบประกาศสำหรับฟรีไดฟ์ไหม?
แน่นอน การดำน้ำผ่านการฝึกสอนจะมีมาตรฐานที่ไกล้เคียงกันในแต่ละสถาบัน โดยความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับมุมมองของสถาบันนั้นๆต่อการดำน้ำฟรีไดฟ์ ซึ่งบางสถาบันก็มองมันเป็นกีฬา และบางสถาบันก็มองมันเป็นกิจกรรมสันธนาการ
มีที่ไหนแนะนำไปดำฟรีไดฟ์ไหม?
เกาะราชา เป็นหนึ่งในที่ๆเหมาะที่สุดในการดำน้ำฟรีไดฟ์ เหตุผลเพราะน้ำใสซึ่งในช่วงที่ใสสุดๆระยะการมองเห็นอาจไกลถึง 40 เมตรซึ่งถือว่าดีมากๆ นอกจากนี้ตัวเกาะเองยังบังลมและคลื่นซึ่งทำให้เราสามารถดำน้ำได้ทั้งปี
เกาะพีพี ก็เป็นอีกสถานที่ๆแนะนำในการดำน้ำฟันไดฟ์(ดำเล่น)ในฤดูร้อน(พฤษจิกายน - เมษายน) ด้วยสิ่งมีชีวิตในทะเลที่เยอะทั้งปลาและปะการัง เกาะพีพีจึงเหมาะอย่างยิ่งกับการดำและถ่ายรูป แทบจะการันตีได้เลยว่าจะเจอเต่าในการดำน้ำที่นี่
ป้องกันการเกิดแบล็คเอาท์หรือการหมดสติได้อย่างไร?
การใช้เทคนิคที่ถูกต้อง ไม่ทำไฮเปอร์(hyperventilation) และไม่ออกแรงหรือฝืนเยอะเกินไป จะทำให้เราไม่เกิดการแบล็คเอาท์ ทุกๆคนมีลิมิต และไม่มีใครอยากจะเจอลิมิตของตัวเองเพราะมันอาจจะทำให้เรากลัวจนไม่กล้าดำน้ำอีกเลย เราควรค่อยๆพัฒนาและเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเรามากขึ้นทีละน้อย
ฉันควรเตรียมตัวทางร่างกายและจิตใจอย่างไรก่อนเรียนฟรีไดฟ์?
อ่านหนังสือบทเรียนและไม่กังวลกับการทำสิลเยอะเกินไป ทุกๆคนสามารถกลั้นหายใจได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถปล่อยวางความกังวลได้ เราควรให้ความสนใจกับการเรียนรู้ทักษะใหม่และพัฒนาเทคนิคให้ดีขึ้นมากกว่าการตั้งเป้าว่าต้องกลั้นหายใจได้กี่นาทีหรือดำได้กี่เมตรหรือต้องทำให้ผ่านและได้บัตร คุณครูจะคอยช่วยและให้คนแนะนำให้เราสามรถทำได้ตามเป้าหมาย แต่ว่าแต่ละคนก็จะมีปัญหาและความยากง่ายไม่เหมือนกัน เช่น การรีแล็กซ์และปล่อยวาง หรือการเคลียร์หู คุณครูให้คำแนะนำและวิธีการแก้ปัญหาได้ แต่เราเองที่จะต้องเป็นคนทำ ครูไม่สามารถทำแทนเราได้ เราต้องเป็นคนทำเอง พยามยามไม่กังวลเกินไปก่อนเริ่มเรียน และฝึกเคลียร์หูก่อนมาหากเริ่มเรียนหากเป็นไปได้ แต่ต้องไม่กดดันตัวเอง
การอ่ารหนังสือก่อนเริ่มเรียนจะช่วยลดเวลาของการเรียนในห้องเรียนลงและใช้เวลาในน้ำมากขึ้นซึ่งเป็นที่ๆจะทำให้เราดำน้ำได้จริงๆและได้พัฒนาทักษะของเรา การใช้เวลาในน้ำกับครูผู้มีประสบการณ์จึงสำคัญกว่าการให้ครูมาอ่านหนังสือให้ฝังซึ่งเราก็สามารถอ่านเองได้ และหากเราใช้เวลาในห้องเรียนเยอะ เวลาในน้ำก็ลดลง และอาจมีเวลาไม่เพียงพอให้เราได้ฝึกฝนทักษะที่ยากและเมื่อหมดเวลาเราก็ทำไม่ได้ การอ่านหนังสือมาก่อนจึงจำเป็น
Comments